วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรมเพื่อการศึกษา

ชั่วโมงที่ 1  ครั้งที่ 1

Innovation นวัตกรรม มาจากนวกรรม
Educational Technology เทคโนโลยีทางการศึกษา
  1. สื่อวัสดุ (Software) ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ บัตรคำ (Word Card)
  •   แผ่นโปร่งใส (Transparency)
  • ไมโครฟิลม์ (Microfilm)
   2.    สื่อวัสดุอุปกรณ์ (Hardware)
  • เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายLCD Liquid Crystal Display
     3.     เทคนิควิธีการ (Technic หรือ Technique)
Minta Phromwan
14:47
Minta Phromwan
PC54505 Innovation, Technology and Information in Education


วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชั่วโมงที่ 2 ครั้งที่ 2
นวัตกรรม = นว + อตต + กรรม มีความหมายว่า การทำสิ่งใหม่ขึ้นมา

นว = ใหม่
อตต = ตัวเอง
กรรม = กระทำ


Thomas Hughes ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่า การนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับกาพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

Morton J.A. ได้ให้คำนิยามของ นวัตกรรมไว้ว่า การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่ การปรับปรุุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัด หรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

Miles Matthew B. ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล

กิดานันท์ มลิทอง ได้ให้ความหมายไว้ว่า การปฏิบัติหรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดีขึ้น เมื่อนำนวตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
    1. การประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
    2. พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลอง จัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
    3. การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์


นวัตกรรมการศึกษา Educational Innovation หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน


ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และประเภทที่กำลังเผยแพร่ นการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเคอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น  วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm

Computer Based = Computer Assisted Instruction = Computer Aided Instruction
 

ความหมายของเทคโนโลยี
    การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจกรรมด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น
 

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
    ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา มี 3 อย่าง คือ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ

     สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้ความหมายไว้ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า
"เป็นพัฒนาการและประยุกต์ระบบ เทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น"

ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอนให้กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านบุคคล วัสดุ เครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน

     Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุตามแผนการ

     แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
    เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education)

     เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยี ได้เป็น 2 ประการ คือ
    1. ความคิดรวบยอด ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ โทรทัศน์ อื่นๆ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ กรใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงานซึ่งไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา


ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามคามคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการหรือปฏิกริยาสัมพันธ์อื่นๆเข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่งเอง

    2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณืเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทา
วิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์แต่เพียงอย่างเดียว

เป้าหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
    1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น คน วัสดุและเครื่องมือ และเทคนิค-วิธีการ
         1.1 คน เช่น ครู และวิทยากรอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
         1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศน์วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทปของ จริง ของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
         1.3 เทคนิค-วิธีการ  เช่น เน้นให้ผู้เรียนเผ็นศูนย์กลาง โดยการให้นักเรียนไปหาข้อมูลมารายงานหน้าชั้นเรียนเป็นต้น
         1.4 สถานที่ ได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเลหรือสถานที่ใดๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้

    2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล นักจิตวิทยาได้คิด "แบบเรียนโปรแกรม" ซึ่งทำหน้าที่สอนเหมือนกับครูาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน

    3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ว่าจะสามารถแก้ปัญหาหรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบอย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่างๆของระบบทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ

    4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชั่วโมงที่ 3 ครั้งที่ 3

ความหมายของเทคโนโลยี
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจกรรมด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น

     เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา มี 3 อย่าง คือ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ

     สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้ความหมายไว้ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า
"เป็นพัฒนาการและประยุกต์ระบบ เทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น"

ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอนให้กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านบุคคล วัสดุ เครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน

     Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุตามแผนการ

     แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education)

     เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยี ได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอด ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ โทรทัศน์ อื่นๆ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ กรใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงานซึ่งไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามคามคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการหรือปฏิกริยาสัมพันธ์อื่นๆเข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่งเอง

2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณืเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทา
วิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์แต่เพียงอย่างเดียว

     เป้าหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น คน วัสดุและเครื่องมือ และเทคนิค-วิธีการ
     1.1 คน เช่น ครู และวิทยากรอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
     1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศน์วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทปของ จริง ของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
     1.3 เทคนิค-วิธีการ  เช่น เน้นให้ผู้เรียนเผ็นศูนย์กลาง โดยการให้นักเรียนไปหาข้อมูลมารายงานหน้าชั้นเรียนเป็นต้น
     1.4 สถานที่ ได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเลหรือสถานที่ใดๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้

2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล นักจิตวิทยาได้คิด "แบบเรียนโปรแกรม" ซึ่งทำหน้าที่สอนเหมือนกับครูาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน

3.  การใช้วิธีการวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่างๆของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ

4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา การสอนปัจจุบันต้องมีการพัฒนาให้มีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
              ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติให้มุ่งจัดการศึกษาความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

  • การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) 
  • แบบเรียนสำเร็จรูป(Programmed Text Book)
  •  เครื่องสอน(Teaching Machine)
  • การสอนเป็นคณะ(Team Teaching)
  • การจัดโรงเรียนในโรงเรียน(School within School)
  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) 
2. ความพร้อม(Readiness) เติมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชึ้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียนให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้เช่น
  • ศูนย์การเรียน(Learning Center) 
  • การจัดโรงเรียนในโรงเรียน(School within School)
  • การปรับปรุงการสอนสามชั้น(Instructional Development in 3 Phasses)

3.การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือดูตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น คือหน่อยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากับทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอน ให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สอนงแนวคิดพื้นฐานเช่น

  • การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น(Flexible Scheduling) 
  •  มหาวิทยาลัยเปิด(Open University)
  •  แบบเรียนสำเร็จรูป(Programmed Instruction)
  •  การเรียนทางไปรษณีย์

4.ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่นมหาวิทยาเปิด

  • การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ 
  • การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป 
  •  ชุดการเรียน

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ชั่วโมงที่ 4 ครั้งที่่4       
     ...การเรียนรู้และการสื่อความหมาย....

     เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคน ดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน

     ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์ คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


...ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ

องค์ประกอบของการเรียนรู้
     1. แรงขับ (Drive)
     2. สิ่งเร้า (Stimulus)
     3. การตอบสนอง (Response)
     4. การเสริมแรง (Reinforcement)

     1. แรงขับ (Drive) คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้กิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้

     2. สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคลแสดงการตอบสนองออกมา
     3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า

     4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ


...จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

     พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของบลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้

1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล

2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม

3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ


...ลำดับขั้นของการเรียนรู้

     ในการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ

1. ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2. ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือการสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้

     ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne


ระดับการเรียนรู้ของ Bloom

     1. ความรู้ที่เกิดจากการจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
     2. ความเข้าใจ (Comprehend)
     3. การประยุกต์ (Application)
     4. การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหาได้
     5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
     6. การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayer

     ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ ความจำเป็น เป็นสิ่งสำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน

1. พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไข พฤติกรรมนั้นจะสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner

     1. ความรู้หรือการเรียนรู้ถูกสร้างหรือถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
     2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
     3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
     4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
     5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
     6. เนื้อหาควรถูกมองในภาพรวม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Tylor

     1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
     2. การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
     3. บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne

     1. การจูงใจ (Motivation Phase) 
     2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
     3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)
     4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
     5. ความสามารถ ในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
     6. การรำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
     7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
     8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)


     การเรียนรู้เริ่มเกิดเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเกิดการเรียนรู้


Stimuls   >   Sensation   >   Perception   >   Concept   >   Response   >   Learning
สิ่งเร้า         ประสาทสัมผัส       การรับรู้        การคิดรวบยอด  การตอบสนอง    เกิดการเรียนรู้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น